Friday, February 16, 2007


ระบบเครือข่าย LAN MAN WAN

Saturday, February 10, 2007

WAN
(WAN :Wide Area Network) / Enterprise WAN Networkระบบแวนหรือระบบเครือข่ายระยะไกล คือ ระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีระยะทางห่างกันไกล ซึ่งอาจครอบคลุมเนื้อที่กว้างขวางหรืออาจข้ามประเทศ ข้ามทวีปโดยระบบสื่อสารนี้จะเชื่อมโยงกันโดยอาจใช้สายโทรศัพท์ สายไฟเบอร์ออฟติก คลื่นไมโครเวฟและดาวเทียม เข้าช่วยเพื่อส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
Enterprise Network ประกอบด้วยเครือข่ายใหญ่เล็กมารวมกัน และเชื่อมต่อกันด้วย
Core Router และก็เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับแวน ไม่เพียงเท่านั้นการเชื่อมต่อบน Enterprise Network ก็ยังมีเป็นการใช้เทคโนโลยีหลากหลายเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ใช้ก็ยังมีความหลากหลายเช่นเดียวกับ รูปแบบต่างๆของเครือข่าย Enterprise มีหลายแบบดังนี้
- การเชื่อมต่อเข้ามาที่เครือข่ายองค์กรโดยทาง Remote Access หรือการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายสาขากับเครือข่ายบริษัทแม่ โดยวิธีการ Remote Access โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะหรืออินเทอร์เน็ตอย่างใดอย่างหนึ่ง
- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือเป็นไปในรูปแบบอินทราเน็ต (Intranet) หรือ เอ็กซทราเน็ต
- การเชื่อมต่อผ่าน WAN โดยใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ เช่น ATM, ISDN, Fram Relay
- การเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตที่ปลอดภัยด้วย VPN (Virtual Private Network)
การเชื่อมต่อแบบระหว่างจุดบน WAN
การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย ทั้งสองจุดเชื่อมต่อต่างก็มีปลายด่านหนึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายทั้งสองนี้มีการเชื่อมต่อกันผ่าน WAN ซึ่งโดยมากเป็นการเชื่อมต่อผ่านทางโมเด็ม
การเชื่อมต่อแบบ Star หรือ Hub Spoke
ลักษณะการเชื่อมต่อแบบนี้มีรูปร่างเหมือนแบบ Star โดยมีเครือข่ายต่างๆ หลายเครือข่ายเชื่อมต่อเข้ามาที่เครือข่ายหลักหนึ่งเครือข่าย โดยที่เครือข่ายย่อยต่างๆ หากต้องการสื่อสารกับเครือข่ายอื่นจะต้องวิ่งผ่านเข้ามาทางเครือข่ายหลักเพียงแห่งเดียว อย่างไรก็ดีหากอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นเราเตอร์การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นแบบที่เรียกว่า Hub and Spoke
การเชื่อมต่อ Partial Mesh และ Fully Mesh
เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่มีเส้นทางหลายเส้นทางโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้มีเส้นทางทดแทนกันในกรณีที่เส้นทางเกิดปัญหา รวมทั้งการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางบางตัวที่เอื้ออำนวยให้สามารถส่งข้อมูลข่าวสารผ่านเส้นทางพร้อมกันหลายเส้นทางในลักษณะของการแบ่งกระแสข้อมูลข่าวสารออกไปบนเส้นทางหลายเส้นทาง เพื่อมุ่งสู่ปลายทาง (Load Sharing)
ระบบแมน (MAN) สามารถรวมระบบแลน (LAN) หลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกันและระบบแวน (WAN) ก็เป็นการรวมระบบแมนและระบบแลนหลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจใช้เทคโนโลยีต่างกันก็ได้ นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายระยะไกล ได้แก่ ระบบเครือข่าย ISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นระบบเครือข่ายดิจิตอล ซึ่งสามารถส่งข้อมูลที่เป็นภาพและเสียงผ่านตัวเชื่อมเข้ากับระบบ ISDN โดยไม่ต้องใช้โมเด็มแปลงสัญญาณอนาล็อกและดิจิตอล




MAN

ระบบแมน (MAN : Metropolitan Area Network) เป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันในระหว่างที่กว้างใหญ่ ครอบคลุมระยะทางเป็น 100 กิโลเมตร ที่มีการติดต่อกันในระยะที่ไกลกว่าระบบแลนและใกล้กว่าระบบแวน เป็นการติดต่อระหว่างเมือง เช่น กรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ เชียงใหม่กับยะลาหรือเป็นการติดต่อระหว่างรัฐ โดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Ring ตัวอย่างเช่น ระบบ FDDI (Fibre Data Distributed Interface) ที่มีรัศมีหรือระยะทางการเชื่อมต่ออยู่ที่ 100 กิโลเมตร อัตราความเร็วอยู่ที่ 100 Mbps มีรูปแบบการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยวงแหวนสองชั้นๆ แรกเป็น Primary Ring ส่วนชั้นที่ 2 เป็น Secondary Ring หรือ Backup Ring โดยชั้น Secondary Ring จะทำงานแทนกันทันทีที่สายสัญญาณใน Primary Ring ขาด
FDDI เป็นโปรโตคอลของเครือข่ายที่เน้นการจัดส่งข้อมูลที่ความที่ความเร็วสูง ส่งได้ในระยะทางที่ไกลและมีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจากใช้สายใยแก้วนำแสง จึงมีผู้นำ FDDI สูง มาใช้เป็นแบ็กโบนเพื่อการขนส่งข้อมูล อย่างไรก็ดีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ FDDI สูง ประกอบกับการที่ระบบ Gigabit Ethernet ถูกออกแบบมาให้แทนที่ FDDI ดังนั้นโครงข่ายนี้กำลังถูกกลืนด้วยวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีในที่สุด

Wednesday, February 7, 2007

LAN
ความหมายของ ระบบ LAN
ย่อมาจาก Local Aria Network ซึ่งแปลได้ว่า “ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก” ที่ต้องประกอบด้วย Server และ Client โดยจะต้องมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น ผู้ให้บริการ และ ผู้ใช้บริการ โดยที่ ผู้ให้บริการ ซึ่งเป็น Server นั้น จะเป็นผู้ควบคุมระบบว่าจะให้การทำให้การทำงานเป็นเช่นไร และในส่วนของ Server เองจะต้องเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีสถานะภาพสูง เช่นทำงานเร็ว สามารถอ้าง หน่วยความจำ ได้มาก มีระดับการประมวลผลที่ดี และจะต้องเป็นเครื่องที่จะต้องมีระยะการทำงานที่ยาวนาน เพราะว่า Server จะถูกเปิดให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง


ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบแลน มีดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ ได้แก่
1.1 สถานีหรือเวิร์กสเตชั่น (Workstation) คือ เครื่องพีซีที่นำมาต่อกันแต่ละสถานีจะ
ประมวลผลได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องไปประมวลที่ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (file server) ทำให้ประมวลผลรวดเร็ว
1.2 ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File server) เป็นศูนย์กลางข้อมูลหรือแอปพลิเคชั่นโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดดิสค์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่สถานีต่าง ๆ เครื่องพีซี (PC) ที่จะนำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ (server) นั้นมักใช้ซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า Nevell’s NetWare Server เป็นตัวควบคุมการทำงานในระบบเครือข่ายภายในเครือข่ายปกติจะมีไฟล์เซิร์ฟเวอร์เดียว แต่ถ้าเป็นระบบแลนที่มีสถานีมาก ๆ อาจมีไฟล์เซิร์ฟเวอร์มากกว่า 1 ก็ได้
1.3 อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ (printer) เครื่องวาดรูป (plotter) และอุปกรณ์อื่น ๆ
1.4 คอนโทรเลอร์ (Controller) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมเส้นทางการสื่อสาร รับ-ส่งข้อมูล จัดระบบการทำงานของเครือข่าย รวมทั้งควบคุมการทำงานของสถานีต่าง ๆ ในระบบแลน ส่วนใหญ่คอนโทรลเลอร์จะรวมอยู่กัลไฟล์เซิร์ฟเวอร์แต่อาจจะแยกมาเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวโดด ๆ ก็ได้
1.5 แลนการ์ด (LAN card) หรือแผงอะแดปเตอร์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย (NAC : Network Adapter Card) หรือแผงอินเตอร์เฟซ (NIC : Network Interface Card) แลนด์การ์ดมีหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากเครื่องพีซีหรือสถานีเข้าสู่ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ และรับข้อมูลจากไฟล์เซิร์ฟเวอร์เข้าสู่สถานี
ทุกสถานีจะต้องทำการติดตั้งแลนการ์ดด้วย
1.6 ฮับ (Hub) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันจะใช้ในการเชื่อมต่อระบบแลนแบบดาว
1.7 บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างระบบแลน 2 เครือข่ายแต่เดิมใช้เชื่อมโยงเครือข่าย 2 เครือข่ายที่เป็นประเภทเดียวกัน ปัจจุบันจะต่างกันก็ได้ โดยบริดจ์จะรับข้อมูลจากสถานีในเครือข่ายต้นทางตรวจสอบตำแหน่งปลายทางจากนั้นก็ส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับในเครือข่ายปลายทาง
1.8 เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบแลน 2 เครือข่ายหรือมากกว่า คล้ายบริดจ์แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเหมาะกับการเชื่อมโยงมากกว่า 2 เครือข่าย เราเตอร์นอกจากทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายแล้วยังทำหน้าที่จัดหาเส้นทางของข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดเพื่อส่งไปยังเครื่องรับปลายทางได้ถูกต้อง
1.9 รีพีตเตอร์ (Reprater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ทบทวนสัญญาณข้อมูลที่อ่อนกำลังให้แรงขึ้น เมื่อทำการส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ รีพีตเตอร์จะช่วยในการเพิ่มระยะทางการสื่อสารข้อมูลของระบบเครือข่ายแลนให้กว้างไกลยิ่งขึ้น
1.10 เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่าย 2 เครือข่ายที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน เช่น ระบบแลนกับแลนหรือแลนกับแวน เป็นต้น


2.ซอฟต์แวร์ (software) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบแลน ได้แก่
2.1 ระบบปฎิบัติการของระบบเครือข่าย เรียกว่า นอส (NOS : Network Operating System) ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีกับไฟล์เซิร์ฟเวอร์โดยจัดการไฟล์ข้อมูลติดต่อกับผู้ใช้และบริการการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ระบบปฏิบัติการของระบบเครือข่าย ได้แก่ Novell’s NetWare , Windows NT , Windows 2000 Server , Unix เป็นต้น
2.2 ระบบปฎิบัติการของเครื่องพีซี เช่น MS-DOS, Microsoft Windows, Windows NT workstation, Linux เป็นต้น


3. สายสื่อสาร (Cable Media) คือ สายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสถานีกับไฟล์เซิร์ฟเวอร์และสถานีกับสถานีเพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารร่วมกันได้ สายสื่อสารที่นิยมใช้ในระบบแลน ได้แก่
3.1 สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cable) เป็นสายที่มีลวดทองแดงพันกันตามมาตรฐานเป็นคู่เพื่อช่วยลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นสายที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีลักษณะเช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ (แต่ไม่ใช่สายโทรศัพท์) (ดังรูป)
สายคู่บิดเกลียว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
3.1.1 สายคู่บิดเกลียวแบบ UTP (Unshield Twisited Pair) เป็นสายลวดทองแดงที่มีฉนวนหุ้มเพื่อไม่ให้สัมผัสกันแต่ไม่มีสายดิน (ground shield) ที่ป้องกันสัญญาณรบกวน ภายในมีจำนวนสายรวมกันอยู่หลายเส้น เช่น ตามมาตรฐานของเอทีแอนด์ที (AT&T) จะมีสายไฟฟ้าอยู่ภายใน 8 เส้น พันเป็นเกลียว 4 คู่ ระบบสาย UTP มักต่อกับหัวต่อแบบ RJ 45 ซึ่งมีลักษณะคล้ายปลั๊กโทรศัพท์ทั่วไป สาย UTP มีไว้สำหรับเชื่อมโยงระหว่างจุด 2 จุด ใช้ในการต่อระบบแลนแบบดาว (star) ซึ่งมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายสัญญาณ เช่น ฮับ (hub) โดยมีระยะทางไม่ไกลนักเป็นสายสื่อสารที่ราคาถูกที่สุด ติดตั้งง่ายและรวดเร็วแต่คุณภาพต่ำที่สุดใช้ได้ในระยะทางจำกัดเพราะจะถูกรบกวนจากสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอกได้ง่าย มีอัตราความผิดพลาดในการส่งข้อมูลสูกกว่าสายสื่อสารแบบอื่น เหมาะที่จะใช้ภายในอาคาร (ดังรูป)
3.1.2 สายคู่บิดเกลียวแบบ STP (Shield Twisted Pair) เป็นสายสื่อสารที่เพิ่มสายดิน (ground shield) เพื่อป้องกันสัญญาณคลื่นรบกวนจากสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอก คุณภาพแบบ STP จะดีกว่าแบบ UTP เพราะให้ความถูกต้องในการส่งข้อมูลได้ดีกว่า
3.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายที่ทำจากลวดทองแดง เรียกว่าคอนดักเตอร์ (conductor) อาจมีเส้นเดียวหรือหลายเส้นก็ได้แล้วแต่จำนวนช่องสัญญาณ หุ้มด้วยลวดตาข่ายทำหน้าที่เป็นสายดินโดยมีฉนวนแยกคอนดักเตอร์และสายดินออกจากกัน ถ้าสายโคแอกเชียลมีขนาดคอนดักเตอร์ใหญ่ก็จะสามารถส่งสัญญาณได้ระยะไกลกว่าและราคาแพงกว่าสายที่มีขนาดคอนดักเตอร์เล็กกว่า ลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวี(แต่ไม่ใช่สายทีวี)คุณภาพในการส่งช้อมูลดีกว่าและมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่าสายคู่บิดเกลียวแต่มีราคาแพงกว่ามักจะใช้กับการเชื่อมโยงแบบบัส (bus) ซึ่งใช้สายเพียงเส้นเดียวเดินผ่านไปยังเครื่องทุกเครื่องบนเครือข่าย ปัจจุบันเป็นสายโคแอกเชียลนิยมใช้น้องลงเนื่องจากสายคู่บิดเกลียวได้รับการพัฒนาให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นและราคาถูกกว่า (ดังรูป)
3.3 สายไฟเบอร์ออปติก (Fiber optic Cable) หรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ทำจากแก้วหรือซิลิคอนที่มีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็กเหมือนเส้นผมมีการสูญเสียสัญญาณแสงน้อยมาก สัญญาณไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณแสงส่งไปในท่อใยแก้ว เป็นสายสื่อสารที่ให้ประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลได้ดีที่สุดแต่มีราคาแพงที่สุด การติดตั้งและบำรุงรักษายาก เนื่องจากสายใยแก้วนำแสงทำด้วยแก้วซึ่งเป็นสารที่ไม่ยอมให้ไฟฟ้าผ่าน ดังนั้น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอก เช่น คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ สายไฟแรงสูงจะไม่รบกวนสัญญาณที่ผ่านเส้นใยแสง สายชนิดนี้จึงทนทานต่อการรบกวนได้ดีกว่าสายประเภทอื่น สามารถส่งข้อมูลเป็นจำนวนมากด้วยอัตราความเร็วสูงและส่งสัญญาณไปได้ระยะทางไกล ๆ สายไฟเบอร์ออปติกมีลักษณะพิเศษ คือใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้ในการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายหลัก หรือเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร สายไฟเบอร์ออปติกจึงนิยมใช้เป็นสายแกนหลักที่เรียกว่า backbone นอกจากนี้ลักษณะทางกาายภาพทำให้การดักขโมยข้อมูล (tap) ไม่ง่ายเหมือนกับสายลวดทองแดงจึงเหมาะที่จะใช้ในการส่งข่าวสารข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูลสูง (ดังรูป)
เนื่องจากสายเคเบิลที่ใช้ในระบบแลนมักมีปัญหาในเรื่องการเดินสาย การติดตั้งและการดูแลรักษา จึงมีการพัฒนาการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) ในระบบแลน โดยใช้รังสีอินฟราเรดและคลื่นวิทยุเป็นสื่อกลางในการส่งสัญญาณข้อมูลทำให้ไม่ต้องใช้สายเคเบิลและผู้ใช้สามารถย้ายสถานที่ได้สะดวก แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องเส้นทางและอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำ


4.เทคนิคการส่งสัญญาณข้อมูล ในระบบแลนแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
4.1 แบบเบสแบด์ (Baseband) สัญญาณข้อมูลจะเป็นแบบดิจิตอลซึ่งถูกส่งไปในสายส่งโดยตรง โดยอัตราเร็วเท่าที่แบนด์วิดท์ของสายสื่อสารมีให้ แบบเบสแบนด์ไม่ต้องใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณทำให้เครือข่ายแบบเบสแบนด์มีราคาถูก ง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษา
4.2 แบบบรอดแบนด์ (Broadband) สัญญาณข้อมูลจะเป็นแบบอนาล็อก จึงต้องใช้โมเด็ม (modem) เพื่อแปลงสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องพีซีเป็นสัญญาณอนาล็อกก่อนส่งออกทางสายสื่อสาร เมื่อสัญญาณข้อมูลถูกส่งไปยังเครื่องปลายทาง ๆ ก็ต้องมีโมเด็มแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอลให้กับเครื่องปลายทาง
4.3 เทคนิคการส่งสัญญาณข้อมูลแบบบรอดแบนด์ เป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับ-ส่งสัญญาณข้อมูลดีกว่าแบบเบสแบนด์ โดยมีอัตราเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลสูงกว่าและส่งสัญญาณไปได้ระยะไกลกว่า สามารถส่งข้อมูลเสียงและภาพได้ทำให้เครือข่ายแบบบรอดแบนด์ใช้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าและมีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่า


5.โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง กฎเกณฑ์ วิธีการควบคุม การส่งข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ในระบบเครือข่าย โปรโตคอลที่นิยมใช้ในระบบแลน ได้แก่
5.1 โปรโตคอลแบบหยั่งเสียงเลือกผู้ส่ง (Polling Access Protocol) ใช้กับระบบแลนที่ต่อแบบดาว (star) ซึ่งมีศูนย์กลางเซิร์ฟเวอร์หรือฮับ (hub) ทำหน้าที่เชื่อมโยงสถานีในการติดต่อสื่อสาร ศูนย์กลางจะทำการหยั่งเสียง (polling) ถามไปยังสถานีต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายว่า สถานีใดต้องการส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายแล้วศูนย์กลางก็จะเลือกสถานีต้นทางและปลายทางส่วนสถานีอื่นยังไม่มีสิทธิในการส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายจนกว่าสถานีที่ได้รับเลือกส่งข่าวสารข้อมูลเสร็จเพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล
5.2 โปรโตคอลแบบสลับวงจร (circuit- Switching Protocol) ใช้กับระบบแลนที่ต่อแบบดาว ต่างกับโปรโตคอลแบบหยั่งเสียวเลือกผู้ส่งคือ แต่ละสถานีสามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ โดยศูนย์กลางไฟล์เซิร์ฟเวอร์หรือฮับ จะทำหน้าที่จัดเส้นทางการสื่อสารข้อมูลจากสถานีต้นทางไปยังสถานีผู้รับปลายทาง ถ้าสถานีผู้รับไม่ว่างเพราะกำลังติดต่อกับสถานีอื่นอยู่ ศูนย์กลางก็จะระงับการส่งข่าวสารข้อมูล การทำงานจะคล้ายกับการสลับสายโทรศัพท์ของเครือข่ายโทรศัพท์
5.3 โปรโตคอลแบบใช้โทเคน (Token Passing Protocol) ที่นิยมใช้ในระบบแลน ได้แก่ โปรโตคอลแบบโทเคนริง (token ring) ใช้ในระบบแลนแบบวงแหวนและแบบโทเคนบัส (token bus) ใช้ในระบบแลนแบบบัสหรือทรี
โทเคนเป็นกลุ่มบิทที่วิ่งวนไปตามสถานีต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายการทำงานของโปรโตคอลแบบใช้โทเคนนี้ เช่น สถานี A ต้องการส่งข่าวสารข้อมูลไปยังสถานี C สถานี A จะคอยตรวจาอบสถานะว่าโทเคนที่วิ่งผ่านมาเป็นโทเคนว่างหรือไม่ ถ้าว่างก็จะจับโทเคนที่ว่างนั้นแล้วส่งข้อมูลฝากไปกับโทเคนพร้อมกับกำหนดตำแหน่งแอดเดรส (address) ของสถานี C ซึ่งเป็นเครื่องรับปลายทาง จากนั้นโทเคนก็จะวิ่งวนต่อไปสถานี B แล้วสถานี B ก็จะทำการตรวจสอบโทเคนว่าใช่แอดเดรสของตนหรือไม่ ถ้าไม่ใช้ก็ปล่อยโทเคนผ่านไปยังสถานี C เมื่อสถานี C จับโทเคนก็จะทำการตรวจสอบแอดเดรสว่าใช่ของตนก็จะทำการคัดลอกข้อมูลไว้จากนั้นก็จะกำหนดโทเคนให้เป็นโทเคนว่างแล้วปล่อยให้วิ่งวนต่อไปในระบบเครือข่าย ดังนั้นสถานีใดต้องการส่งข้อมูลจะต้องตรวจสอบสถานะของโทเคนก่อนว่าว่างหรือไม่ ถ้าว่างจึงจะส่งข้อมูลไปกับโทเคน (ดังรูป)
โปรโตคอลแบบใช้โทเคนนี้ไม่มีการจำกัดขนาดของเฟรมข้อมูล โทเคนจะมีเพียงโทเคนเดียวเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาการชนกันของสัญญาณข้อมูล ถ้ามีสถานีใดจับโทเคนไว้หรือใช้โทเคนส่งข่าวสารข้อมูล สถานีอื่นก็ต้องรอจนกว่าโทเคนจะว่างจึงจะใช้ได้ แต่ถ้าไม่มีการส่งข่าวสารข้อมูล โทเคนก็จะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีสิ้นสุด



ระบบแลนแบ่งตามลักษณะรูปแบบการเชื่อมต่อ (LAN Topology) มี 3 แบบ คือ
1.แบบดาว (Star Topology) คือ การนำสถานีหรือเวิร์กสเตชั่น (Workstation) หลาย ๆ สถานีเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เป็นศูนย์กลาง คือ ฮับ (hub) ศูนย์กลางจะทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย การส่งข่าวสารข้อมูลแบบดาวนี้จะเริ่มจากสถานีที่ต้องการส่งข้อมูลจะส่งข้อความแจ้งให้ศูนย์กลางทราบว่า ต้องการติดต่อกับสถานีปลายทางสถานีใด ศูนย์กลางก็จะทำการเชื่อมโยงให้สถานีต้นทางและสถานีปลายทางติดต่อกันได้ การติดต่อสื่อสารเป็นแบบ 2 ทิศทางคือ จะมีสถานีเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้เพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล ฮับมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ RJ 45 ของสายแบบ UTP จำนวนสถานีจะมีได้สูงสุดเท่ากับจำนวนช่องเสียบของฮับและจำนวนช่องเสียบยิ่งมากยิ่งราคาแพง การต่อแบบดาวเป็นการสร้างลิงค์ (link) ระหว่างสถานีต้นทางกับสถานีปลายทางจนกว่าจะส่งข่าวสารข้อมูลเสร็จ สถานีอื่นจึงจะสามารถส่งข้อมูลได้ (ดังรูป)
ข้อดี

1.ถ้าสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย สถานีอื่นก็ยังสามารถทำงานได้
2.การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาสามารถทำได้ง่าย ถ้าสถานีใดเสียก็สามารถตรวจสอบ
ได้ง่าย
3.การเพิ่มสถานีในระบบเครือข่ายสามารถกระทำได้ง่าย
ข้อเสีย
1.เปลืองสายที่ใช้ในการเชื่อมต่อเพราะต้องใช้สายเป็นจำนวนมากในการต่อทั้งระบบเครือ
ข่าย
2.เปลืองที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางหรือฮับมีราคาแพงและถ้าเกิดความเสียหายจะทำงานไม่ได้ทั้ง
ระบบ
3.การสื่อสารระหว่างสถานีไม่คล่องตัว การต่อแบบนี้เหมาะที่จะใช้ในกรณีที่มีจำนวนสถานี
ไม่มากนัก
2.แบบวงแหวน (Ring Topology) คือ การเชื่อมต่อสถานีต่าง ๆ เป็นวงกลมการเชื่อมต่อแบบนี้คล้ายแบบบัสจะต่างกันตรงปลายทั้งสองข้างจะมาบรรจบกัน ในแต่ละสถานีจะมีรีพีตเตอร์ (repeater) 1 ตัว ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือรับข้อมูลจากรีพีตเตอร์ตัวก่อนหน้าแล้วส่งเป็นสัญญาณไป เมื่อสัญญาณอ่อนตัวลงรีพีตเตอร์จะขยายสัญญาณให้แรงขึ้นก่อนทำการส่งต่อไป ดังนั้นสัญญาณจึงถูกส่งไปได้ในระยะไกลขึ้นโดยรีพีตเตอร์ ข้อมูลจะถูกส่งจากสถานีหนึ่งซึ่งมีรีพีตเตอร์ประจำสถานี รีพีตเตอร์จะทำหน้าที่เพิ่มสิ่งที่จำเป็นต่อการสื่อสารลงในแพ็กเก็จ (packet) ของข้อมูลเพื่อส่งข้อมูลออกจากสถานีผ่านเข้าไปในวงแหวนทางด้านใดด้านหนึ่งมีลักษณะเป็นทิศทางเดียว รีพีตเตอร์ของสถานีถัดไปทำหน้าที่รับแพ็กเก็จข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสารแล้วตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้สถานีตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดส่งต่อไปให้กับสถานีของตนแต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของสถานีถัดไป ไฟเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่สร้างโทเคนว่าง (free token) เพื่อรับ-ส่งข้อมูลวิ่งวนไปตามสถานีต่าง ๆ ในวงเครือข่าย (ดังรูป)
ข้อดี
1. การส่งข้อมูลจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันจากสถานีหนึ่งไปยังสถานีถัดไป จึงไม่มีการชนกันของ

สัญญาณข้อมูล
2. ทุกสถานีมีสิทธิใช้ระบบเครือข่ายได้เท่ากัน

ข้อเสีย
1. การต่อแบบนี้ถ้าสถานีใดสถานีหนึ่ง เสียหรือสายสัญญาณเสียก็จะเสียทั้ง ระบบ
2. ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านไปแต่ละสถานีเวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับที่ทุกรีพีตเตอร์จะต้องตรวจสอบ
ตำแหน่งผู้รับปลายทางของข้อมูลและถ้าใช่ตำแหน่งของตนก็ต้องทำการคัดลอกข้อมูลไว้
3. แบบบัสหรือทรี (Bus / Tree Topology)

แบบบัส คือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลาย ๆ สถานีด้วยสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นแบบที่มีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้รีพีตเตอร์เหมือนแบบวงแหวนหรือฮับเหมือนแบบดาว ทุกสถานีจะเชื่อมเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า บัส
แบบทรี (Tree) ก็เป็นแบบบัสแบบหนึ่งโดยสายเคเบิลเส้นกลางถูกแยกออกไปคล้ายกิ่งก้านสาขาของต้นไม้
การส่งข่าวสารข้อมูลแบบบัส เริ่มจากสถานีหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังสถานีอื่นภายในเครือข่าย ข้อมูลจากสถานีต้นทางจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปแพ็กเก็จซึ่งแต่ละแพ็กเก็จจะบอกตำแหน่งแอดเดรสของสถานีปลายทาง แต่ละสถานีที่ต่อเชื่อมเข้ากับบัสจะทำการตรวจตำแหน่งแอดเดรสที่มากับแพ็กเก็จว่าใช่ตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นแต่ถ้าไม่ใช่จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไปยังสถานีถัดไป การจัดส่งข้อมูลบนบัสจะสามารถส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานี ดังนั้นการส่งข้อมูลจึงต้องกำหนดวิธีการเพื่อไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน (data collision) ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลสูญหายต้องส่งข้อมูลใหม่ จึงต้องมีเทคนิคที่นำมาใช้ในการตรวจจับว่าสายสัญญาณว่างหรือไม่ ถ้าว่างก็จะทำการส่งข้อมูลให้ ถ้าไม่ว่างก็จะเก็บข้อมูลรอไว้จนกว่าสายสัญญาณว่างจึงจะส่งข้อมูลให้ (ดังรูป)
ข้อดี
1. แบบบัสสามารถเดินสายได้ง่าย ไม่ต้องมีรีพีตเตอร์หรือฮับ

2. สามารถติดตั้งระบบแลนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนดูแลรักษาง่าย
3. ถ้าสถานีใดสถานีหนึ่งเสียจะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของสถานีอื่นในระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
1. ถ้าอุปกรณ์ที่เป็นตัวจั๊ม (jump) เสีย สถานีที่อยู่ถัดไปจากตัวจั๊มจะใช้งานไม่ได้
2. ถ้าสถานีใดในระบบเครือข่ายมีจำนวนมากและบางจุดในบัสเกิดความเสียหายการตรวจสอบจะยาก

ประโยชน์ของระบบแลน
1.ผู้ใช้หลาย ๆ คนสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันในฐานข้อมูลเดียวกันได้
2.ใช้อุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องวาดรูป ฮาร์ดดิสค์ ทำให้เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
3.ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมในฮาร์ดดิสค์ ซึ่งปกติผู้ใช้เครื่องแต่ละคนต้องเก็บโปรแกรมและข้อมูลเอาไว้ในเครื่องของตน เช่น ถ้าใช้เครื่อง 10 เครื่องก็จะต้องเก็บข้อมูลไว้ในฮาร์ดดิสค์ 10 เครื่องทำให้เปลืองเนื้อที่ ถ้าใช้ระบบแลนจะสามารถใช้ฮาร์ดดิสค์ร่วมกันได้

4.สามารถส่งข่าวสารข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้อย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ใช่ระบบแลน การส่งข้อมูลจะต้องคัดลอกข้อมูลลงสื่อต่าง ๆ เช่น ดิสค์เก็ตหรือเทปจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งหรือถ้าต้องการพิมพ์จะต้องต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องพิมพ์จึงจะพิมพ์ข้อความได้ ถ้าใช้ระบบแลนจะสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ต่อโดยตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ โดยการส่งข่าวสารข้อมูลผ่านสายที่ใช้เชื่อมต่อ (communication line) ได้โดยทันที
5.ใช้ในการประชุมแบบไม่เป็นทางการ (Informal Conference) โดยการประชุมผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต้องนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน ผู้เข้าร่วมประชุมจะนั่งอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองเป็นการลดความยุ่งยากในการจัดประชุมที่เป็นพิธีการ







Friday, February 2, 2007